Skip to content

เกี่ยวกับเรา

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในสมัยของของพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้เป็นผู้ริเริ่มให้ศูนย์ฝึกอบรมบ้านผู้หว่านแห่งนี้ เมื่อปี 1995 และยังดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้บ้านแห่งนี้เป็นบ้านแห่งการอภิบาล อบรม และเพื่อให้จิตตารมณ์ของพระศาสนจักรสากลได้สำเร็จลุล่วง 

ชื่อ “บ้านผู้หว่าน”

“เปาโลเป็นผู้ปลูก อปอลโลเป็นผู้รดน้ำ 
แต่พระจิตของพระเจ้าทรงทำให้เติบโต” 
 

นาม “ผู้หว่าน” เป็นนามปากกาของพระอัครสังฆราช  ยอแซฟ ยวง นิตโย ซึ่งเป็นพระอัครสังฆราชคาทอลิกชาวไทยองค์แรก ที่เป็นประมุขของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

พระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1908  ท่านรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1935 และได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราช เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1963

 ท่านปกครองดูแลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในฐานะประมุขตั้งแต่ ค.ศ. 1965 จนถึง ค.ศ. 1973 ต่อจากนั้นท่านได้ลาพักจากหน้าที่ เนื่องจากสุขภาพไม่ดี และได้พำนักอยู่ ณ สามเณราลัยนักบุญ  ยอแซฟ สามพราน สถานที่ซึ่งท่านได้สร้าง และทุ่มเทพลังกายใจ เพื่อการอบรม และเตรียมบรรดาสามเณรให้เป็นพระสงฆ์

พระคุณเจ้ายวง นิตโย เป็นอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยความรู้ และความรักต่อทุกๆคน  ท่านเป็นนักเขียนที่มีผลงานมากมาย เป็นที่ยอมรับ และยังมีโอกาสได้สอนภาษาลาตินในวัง ท่านใช้นามปากกาในงานเขียนของท่านว่า”ผู้หว่าน” เพื่อสะท้อนงานที่ท่านทำทั้งหวดว่า  “ผู้หว่านได้ออกไปหว่านพืช” และเหมือนดังที่ท่านนักบุญเปาโลได้เขียนไว้ในบทจดหมายของท่านว่า “เปาโลเป็นผู้ปลูก อปอลโลเป็นผู้รดน้ำ แต่พระจิตของพระเจ้าทรงทำให้เติบโต”   

ดังนั้น ด้วยความเคารพรักต่อพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้สร้างศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาลแห่งนี้ เพื่อเป็นเกียรติสำหรับพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย จนสำเร็จ และตั้งชื่อศูนย์ฝึกอบรมฯ แห่งนี้ว่า “บ้านผู้หว่าน” ตามนามปากกาของพระคุณเจ้ายวง นิตโย ชื่อ “บ้านผู้หว่าน” นี้ เป็นชื่อที่เปี่ยมด้วยความหมายตามจุดประสงค์ และเจตนารมณ์ของพระศาสนจักร 
นับจากวันที่บ้านหลังนี้ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1995  

ตราสัญลักษณ์ของบ้านผู้หว่าน 

Designer

สัญลักษณ์ของบ้านผู้หว่านคือ “รูปรวงข้าว มีลักษณะเหมือนกางเขน และมีเฉดสีต่างๆ” 

รูปรวงข้าวที่เป็นรูปกางเขน หมายถึงข่าวดีของพระเยซูเจ้า 

สีต่างๆ หมายถึง “สีตามเทศกาลต่างๆ ทางศาสนา”

เครื่องหมายนี้ได้รับอิทธิพลความคิดจากรูปปกหนังสือสวดทำวัตรของพระสงฆ์ฉบับภาษาอังกฤษ และปก หนังสือประจำมิสซาภาษาอังกฤษที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ อีกทั้งใช้สัญลักษณ์รวงข้าว บ่งบอกถึงความเป็นไทย และเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับชื่อ “ผู้หว่าน” ที่ได้หว่านเมล็ดพันธุ์พืช คือ พระวาจาของพระเจ้า ลงบนสถานที่แห่งนี้

ความหมายของสี

เป็นสีที่บ่งบอกถึงการผ่านพ้นจากบาป หรือความตายไปสู่ชีวิตใหม่ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสีที่ใช่ในการล้างบาปและศีลกำลัง เป็นสีที่แสดงถึงความสะอาดบริสุทธิ์จากการได้รับศีลล้างบาป และเป็นสีที่แสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลพรหมจรรย์ด้วย

สีม่วง

สีผสมเท่าๆ กันระหว่างฟ้ากับแดง จึงความหมายถึงความรัก (=แดง) ในความสัตย์จริง (=ฟ้า) และความสัตย์จริงในความรัก (=แดง) ซึ่งมาจากพระเป็นเจ้า (=ฟ้า) และเพื่อจะเป็นพยานของความรัก และความสัตย์จริงนี้ พระบุตรผู้เสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ ยอมทนทรมานจนถึงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน

สีเขียว

เป็นสีผสมของสีเหลืองกับสีฟ้า สีเหลืองหรือทอง หมายถึง นิรันดรภาพและความเชื่อ ปรีชาญาณ และความรุ่งโรจน์ ส่วนสีฟ้าเป็นสีของพระเป็นเจ้า พระบิดา หมายถึง ความสัตย์จริงที่แสดงออกทางลมปราณของพระเจ้า หรือพระจิตเจ้า สีแห่งความไม่รู้ตายและความกระหายของมนุษย์ที่จะได้ชีวิตเหนือธรรมชาติ และเป็นอมตะ

สีแดง

สีที่หมายถึงไฟ เลือด ชีวิต และการยอมตายเป็นมรณสักขี ซึ่งก็ให้ความหมายตามมาว่าเป็นความรัก (พระจิตเจ้า ปีกของเครูบ รัศมีของมรณสักขี อาดัมที่ถูกสร้างจากดิน (แดง)